ชื่อโครงการ
การพัฒนาชุมชนระดับตำบลแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคโนโลยีพร้อมใช้เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่จังหวัดสงขลา
หัวหน้าโครงการ
รองศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี หอมเขียว
หน่วยงาน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
“นวัตกรมีมุ่งมั่นในการสร้างเครือข่ายกับคนในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งเริ่มต้นจากโครงการ “จะนะรักษ์ถิ่น” และในปัจจุบันสามารถสร้างเครือข่ายได้มากกว่า 17 อำเภอ นวัตกรมีอุดมการณ์ร่วมกับกลุ่ม โดยมีความเชื่อว่าการรักษาทรัพยากรธรรมชาติหน้าบ้าน (ควน ป่า นา เล) จะทำให้คนในพื้นที่มีความมั่นคงทางอาหารที่สามารถเลี้ยงดูคนในพื้นที่หรือแม้กระทั่งคนไทยทั้งประเทศได้ และที่สำคัญคือสามารถสร้างอาชีพให้คนในพื้นที่ พึ่งพาตนเองได้ และลดการย้ายถิ่นฐานเพื่อหางานทำ”
Project Leader Image
นาย รุ่งเรือง ระหมันยะ
ประธานกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งบ้านสวนกง
นวัตกรรมพร้อมใช้/เทคโนโลยีที่เหมาะสม ที่นวัตกรใช้งานในพื้นที่

เมื่อเริ่มโครงการวิจัย
กระบวนการพัฒนา

มีความคิดสร้างสรรค์สามารถเชื่อมต่อกิจกรรมของกลุ่มร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ และที่สำคัญคือมีภาวะผู้นำ สามารถประสานงานเครือข่ายและหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานภายในพื้นที่และหน่วยงานนอกพื้นที่

มีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ เรื่องทะเลและการอนุรักษ์อย่างถ่องแท้ เป็นผู้รับและปรับใช้เทคโนโลยีการแปรรูปปลาทะเลที่โครงการได้ส่งมอบได้เป็นอย่างดี มีทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ มีทักษะการสื่อสารที่ดีสามารถถ่ายทอดและขยายผลองค์ความรู้ไปสู่บุคคลหรือชุมชนอื่นได้อย่างเหมาะสม

สามารถประสานงานเครือข่ายและหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานภายในพื้นที่และหน่วยงานนอกพื้นที่ สามารถเป็นผู้นำของพื้นที่ต้นแบบเรียนรู้นวัตกรรม (LIP) ที่จะสามารถสร้างทีมงานคนรุ่นใหม่ในการสานต่อ “วิถีคนเล” ได้

ณ ปัจจุบัน
คุณลักษณะเด่น
เป็นนวัตกรที่มีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ เรื่องทะเลและการอนุรักษ์อย่างถ่องแท้ เป็นผู้รับและปรับใช้เทคโนโลยีการแปรรูปปลาทะเลที่โครงการได้ส่งมอบได้เป็นอย่างดี มีทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ มีทักษะการสื่อสารที่ดีสามารถถ่ายทอดและขยายผลองค์ความรู้ไปสู่บุคคลหรือชุมชนอื่นได้อย่างเหมาะสม เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์สามารถเชื่อมต่อกิจกรรมของกลุ่มร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ และที่สำคัญคือมีภาวะผู้นำ สามารถประสานงานเครือข่ายและหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานภายในพื้นที่และหน่วยงานนอกพื้นที่

จำนวนผู้เข้าชม: 84