เตาเผาถ่านน้ำส้มควันไม้มลพิษต่ำ

ประเภทของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

สินค้า/ผลิตภัณฑ์ (Product)

กลุ่มของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

สิ่งแวดล้อม

อ้างอิงนวัตกรรม

-

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

การสร้างนวัตกรชุมชนให้มีความรู้และทักษะด้านนวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าจากกิ่งลำไยที่ถูกตัดทิ้งมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนผ่านรูปแบบวิสาหกิจชุมชน โดยใช้แนวทางกระบวนการเรียนรู้และจัดการความรู้พื้นที่ต้นแบบเรียนรู้นวัตกรรม (Learning and innovation platform) ดังนี้ 1. การศึกษาบริบทแนวทางปัญหาร่วมกันกับผู้นำชุมชน ตัวแทนเกษตรกรปลูกลำไย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงราย พบว่า เกษตรกรปลูกลำไยในอำเภอแม่สรวยและอำเภอเวียงป่าเป้า มีปัญหาเรื่องคุณภาพผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน มีต้นทุนในการผลิตสูง ราคาผลผลิตตกต่ำ ภัยธรรมชาติ ตลอดจนการขาดความรู้เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ทำให้เกษตรมีรายได้ไม่สม่ำเสมอและไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ส่งผลให้มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น 2. การกำหนดแนวทางการเรียนรู้และกำหนดเป้าหมายร่วมกันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการแก้ไขปัญหาไว้ 10 ชุมชน ใน 10 ตำบล 3. การกำหนดพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ (Learning Space) เป็นขั้นตอนที่ผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดพื้นที่ที่ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกันหรือการพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบในการเรียนรู้ของประชาชนในชุมชนหรือชุมชนและหน่วยงานอื่นๆ ณ หอประชุมหมู่บ้าน จำนวน 10 แห่ง ใน 10 ตำบล 4. การได้ออกแบบหลักสูตรการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน คือ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) การสร้างเตาเผาถ่านน้ำส้มควันไม้มลพิษต่ำ 2) การเก็บและการตรวจสอบคุณภาพน้ำส้มควันไม้และถ่าน และ 3) วิสาหกิจชุมชนและการทำตลาดน้ำส้มควันไม้และถ่าน 5. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้เป็นขั้นตอนการพัฒนา การประยุกต์ หรือการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนปลูกลำไย โดยการใช้นวัตกรรมเตาเผาถ่านน้ำส้มควันไม้มลพิษต่ำ และ 6. นวัตกรชุมชนสามารถนำความรู้เทคโนโลยีที่ได้ไปขยายผลสร้างเครือข่ายไปยังกลุ่มเกษตรกรปลูกลำไยในพื้นที่ใกล้เคียงได้

อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

คุณสมบัติเด่นคือเหมาะกับชุมชนเกษตรกรปลูกลำไยที่มีการตัดแต่งกิ่งลำไยทุก ๆ ปี และช่วยลดการเผาในที่โล่งที่สร้างปัญหา PM2.5 ในพื้นที่ โดยมีลักษณะเด่นที่เหนือกว่าผลงานอื่น ๆ คือมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำส้มควันไม้ตามมารฐาน มผช.659/2553 และตรวจสอบคุณภาพถ่านด้วยมัลติมิเตอร์วัดค่าความต้านทาน ก่อนออกจำหน่าย และ สามารถสร้าง Impact ต่อชุมชนในด้านการรายได้ให้กับชุมชนเกษตรกรปลูกลำไยอย่างเป็นรูปธรรม

จุดเด่น

นวัตกรรมเตาเผาถ่านน้ำส้มควันไม้มลพิษต่ำที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีจุดเด่นคือ สร้างง่าย สามารถเคลื่อนย้ายได้ สะดวก และใช้งานง่าย เหมาะกับชุมชนเกษตรกรปลูกลำไยที่มีการตัดแต่งกิ่งลำไยทุก ๆ ปี และช่วยลดการเผาในที่โล่งที่สร้างปัญหา PM2.5 ในพื้นที่ อีกทั้งยังได้ผลผลิตเป็นน้ำส้มควันไม้และถ่านที่สามารถนำมาขายสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง

เงื่อนไขการใช้เทคโนโลยี

ใช้งานในที่โล่งแจ้งและห่างจากบ้านเรือน

ต้นทุนการใช้นวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้

6,000.00 บาท

รายการพื้นที่ของนวัตกรรมพร้อมใช้ / เทคโนโลยีที่เหมาะสม

สถานที่ พื้นที่

ระดับความพร้อมของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

เริ่มต้น
7
ณ สิ้นสุดโครงการ
3

ระดับความพร้อมของสังคม/ชุมชน

เริ่มต้น
3
ณ สิ้นสุดโครงการ
3

รูปแบบทรัพย์สินทางปัญญา

-

เลขที่คำขอ

-

เลขที่ทรัพย์สินทางปัญญา

-

ผู้เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตร

สิทธิ์ ชื่อ-นามสกุล หน่วยงาน เบอร์โทร

ข้อถือสิทธิ์

-

เอกสาร

  • ไม่มีเอกสาร

วีดีโอ

  • ไม่มีลิงค์วีดีโอ

รูปภาพ

  • ไม่มีรูป
  • จำนวนผู้เข้าชม: 61