เครื่องตัดปลาแห้งแบบเส้น

ประเภทของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

กระบวนการ (Process)

กลุ่มของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

การเกษตร/อุปกรณ์ทางการเกษตร

อ้างอิงนวัตกรรม

-

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

ในการพัฒนาเครื่องตัดปลาแห้งแบบเส้น มีจุดเริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลจากวิธีการเดิมที่กลุ่มอาชีพใช้ในการตัดปลาเส้น โดยการใช้กรรไกรตัดด้วยมือ ซึ่งการตัดปลาแห้งด้วยกรรไกรนั้นจะส่งผลให้เกิดการการเจ็บบริเวณนิ้วมือ เนื่องจากต้องตัดก้างปลาซึ่งมีความแข็งต้องออกแรงในการตัดมากขึ้น การสึกหรอของกรรไกรก็เร็วมากขึ้น และในขณะเดียวกันยังทำให้ทำงานได้ล่าช้าจึงได้ผลผลิตที่ต่ำ โดยใน 1 วัน (6 ชั่วโมง) สามารถตัดปลาได้ประมาณ 4.2 กิโลกรัม เฉลี่ย 0.7 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ผู้วิจัยจึงต้องคิดหาวิธีที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีแนวคิดว่าเครื่องมือหรือวิธีการนั้นจะต้องไม่มีความซับซ้อนและใช้งานยากจนเกินไป จึงนำมาสู่การพัฒนาเครื่องตัดปลาแห้งแบบเส้น โดยได้มีการนำองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาใช้เช่น ความรู้ด้านวัสดุ ความรู้ด้านการออกแบบเครื่องจักรกล ความรู้ด้านความปลอดภัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
ความรู้ด้านวัสดุ มีการพิจารณาเลือกวัสดุเกรดอาหาร ซึ่งจะส่งผลให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และผู้รับเทคโนโลยีสามารถต่อยอดไปสู่การขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ความน่าเชื่อถือในตัวผลิตภัณฑ์ และได้รับอนุญาตให้ผลิตและจำหน่ายได้อย่างถูกต้องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ในอนาคต
ความรู้ด้านการออกแบบเครื่องจักรกล โดยการวิเคราะห์ฟังก์ชันการทำงานของเครื่องมือ เครื่องจักร เริ่มตั้งแต่ศึกษากระบวนการผลิตแบบเดิม และนำมากำหนดหลักการทำงานของเครื่องมือ เครื่องจักร นำมาสู่การออกแบบเครื่องมือ เครื่องจักร ซึ่งจะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่อง ความเร็วตัดของเครื่องที่เหมาะสมกับการตัดปลาแห้ง กำลังการผลิตสินค้า ระดับความสามารถของผู้ใช้งาน พื้นที่การทำงาน ตลอดจนการบำรุงรักษาและการซ่อมบำรุงในอนาคต
ความรู้ด้านความปลอดภัย โดยในการออกแบบเครื่องมือเครื่องจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ได้แก่การกำหนดให้มีการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการสัมผัส หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับผู้ใช้งานกับชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่อง เช่น ใบมีด สายพาน เฟือง หรือกลไกต่าง ๆ ของเครื่อง เป็นต้น และการกำหนดอุปกรณ์ไฟฟ้าของเครื่องเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ได้แก่ การกำหนดให้มีปุ่มหยุดฉุกเฉิน การเลือกใช้สายไฟและอุปกรณ์ควบคุมให้เหมาะสมกับกำลังของมอเตอร์ เป็นต้น

อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

ในการออกแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม ได้ดำเนินการโดยยึดหลักการทำงานทางวิศวกรรมตั้งแต่การออกแบบเครื่องให้มีความปลอดภัยโดยออกแบบให้ใบมีดตัดหมุนอยู่ภายใน และกำหนดให้มีช่องสำหรับป้อนตัดให้กว้างพอที่จะป้อนตัดปลาเท่านั้น เนื่องจากป้องกันไม่ให้มือของผู้ปฏิบัติงานเข้าไปในชุดใบมีด สำหรับชุดควบคุมการทำงานของเครื่องจะออกแบบให้มีปุ่มหยุดฉุกเฉิน หากเกิดข้อผิดพลาดจากการทำงานหรือเครื่องทำงานผิดปกติก็สามารถกดปุ่มหยุดฉุกเฉินให้เครื่องสามารถหยุดการทำงานได้ในทันที สำหรับโครงสร้างของเครื่องได้ออกแบบให้ทำจากวัสดุเกรดอาการ ได้แก่เหล็กกล้าไร้สนิม เกรด 304 ซึ่งจะมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ขนาดของเครื่องได้ถูกออกแบบให้มีขนาดไม่ใหญ่มาก เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บ นอกจากนี้ยังมีช่อง service สำหรับการทำความสะอาดและบำรุงรักษาเครื่องหลังจากการใช้งานโดยกำหนดให้สามารถเปิดได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วย

จุดเด่น

จุดเด่นของเครื่องตัดปลาเส้นแบบแห้ง มีดังนี้
1. โครงสร้างของเครื่องและส่วนต่าง ๆ ทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม เกรด 304 ซึ่งเป็นวัสดุเกรดอาหารจึงมีความแข็งแรงและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
2. มีการออกแบบช่องสำหรับป้อนตัดให้มีความแคบเพื่อป้องกันไม่ให้มือของผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตรายจากการทำงาน
3. มีการออกแบบให้มีปุ่มหยุดฉุกเฉินเมื่อเกิดข้อผิดพลาดจากการทำงานหรือความผิดปกติของเครื่อง
4. มีการออกแบบให้มีช่อง service เพื่อใช้ในการทำความสะอาดและบำรุงรักษาหลังการใช้งาน

เงื่อนไขการใช้เทคโนโลยี

เครื่องตัดปลาแห้งแบบเส้นได้ถูกออกแบบให้สามารถตัดชิ้นงานที่มีความหนาไม่เกิน 5 มม.ด้วยข้อจำกัดของใบมีด โดยความกว้างที่สามารถตัดได้จะขึ้นกับแหวนรองระหว่างใบมีด ความเร็วรอบในการเดินเครื่องกำหนดไว้คงที่ซึ่งผ่านการทดลองแล้วว่ามีความเหมาะสมสำหรับตัดปลาที่มีขนาดความหนาไม่เกิน 5 มม. สำหรับระดับความชื้นของปลาจะขึ้นกับผู้ผลิตปลาแห้ง อย่างไรก็ตามหากความชื้นของปลามีมากเกินไปก็อาจจะทำให้ปลาติดกับใบมีดซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อในภายหลังได้

ต้นทุนการใช้นวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้

25,000.00 บาท

รายการพื้นที่ของนวัตกรรมพร้อมใช้ / เทคโนโลยีที่เหมาะสม

สถานที่ พื้นที่

ระดับความพร้อมของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

เริ่มต้น
3
ณ สิ้นสุดโครงการ
3

ระดับความพร้อมของสังคม/ชุมชน

เริ่มต้น
3
ณ สิ้นสุดโครงการ
3

รูปแบบทรัพย์สินทางปัญญา

-

เลขที่คำขอ

-

เลขที่ทรัพย์สินทางปัญญา

-

ผู้เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตร

สิทธิ์ ชื่อ-นามสกุล หน่วยงาน เบอร์โทร

ข้อถือสิทธิ์

-

เอกสาร

  • ไม่มีเอกสาร

วีดีโอ

  • ไม่มีลิงค์วีดีโอ

รูปภาพ

จำนวนผู้เข้าชม: 33