กระบวนการ (Process)
การเกษตร/อุปกรณ์ทางการเกษตร
-
เป็นองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ใช้พัฒนากระบวนการผลิตผักอินทรีย์ให้กับนวัตกร/กลุ่มอาชีพตามบริบทของแต่ละชุมชน ประกอบด้วยองค์ความรู้ด้านกรอบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์/การตรวจรับรองมาตรฐาน เทคโนโลยีการเตรียมดิน/การเตรียมปุ๋ยอินทรีย์/การเตรียมสารชีวภัณฑ์และสารสกัดสมุนไพร/การเตรียมกล้า เทคโนโลยีการปลูกและการดูแลรักษาผักชนิดต่างๆ (การเตรียมแปลง/การเตรียมโต๊ะปลูก/การปลูก/การวางระบบน้ำ/การใช้ปุ๋ยอินทรีย์/การใช้สารชีวภัณฑ์/สารสกัดสมุนไพร ฯลฯ) เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว/การคัด-ตัดแต่ง-บรรจุ/การตลาดดิจิทัล
ในกระบวนการผลิตผักอินทรีย์ให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพและผ่านกระบวนการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม เกษตรกรจำเป็นต้องมีองค์ความรู้/นวัตกรรมและเทคโนโลยีทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในงานวิจัยครั้งนี้จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาหรือพัฒนาวิธีการต่างๆในการผลิตผัก เช่น การผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ /สารสกัดสมุนไพรสำหรับป้องกันแมลงศัตรูพืช เป็นต้น จึงขอยกตัวอย่างรายละเอียดผลิตภัณฑ์พร้อมใช้ได้แก่
การทำปุ๋ยหมักสูตร PS II
เป็นปุ๋ยหมักที่ได้จากการนำวัสดุอินทรีย์/วัสดุธรรมชาติที่ให้ธาตุอาหารพืชสูงมาหมักในสภาพที่ต้องการออกซิเจน โดยมีจุลินทรีย์ทำหน้าที่ในการย่อยสลายและแปรสภาพเป็นธาตุอาหารให้พืชนำไปใช้ได้
ส่วนผสมปุ๋ยหมักสูตร PS II (1 ตัน)
1. แกลบดิบ 100 กิโลกรัม
2. มูลวัว 600 กิโลกรัม
3. กากถั่วเหลือง 200 กิโลกรัม
4. หินฟอสเฟต 100 กิโลกรัม
5. กากน้ำตาล 5 ลิตร
6. พด.1 1 ซอง
7. น้ำสะอาด 60 %
ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักสูตร PS II
1. นำเชื้อจุลินทรีย์ พด.1 กากน้ำตาล น้ำสะอาด ตามสัดส่วนมาผสมกันในถัง/กะละมัง
2. นำแกลบมาแช่ไว้ในน้ำข้อที่ 1 ประมาณ 5-10 นาที
3. นำมูลวัวมาสับให้มีขนาดเล็กลง (ถ้าเป็นก้อน) ผสมคลุกเคล้ากับกากถั่วเหลือง
4. ผสมวัสดุในข้อ 2 และ 3 โดยคลุกเคล้าให้เข้ากัน ความชื้นประมาณ 50-60 %
5. นำส่วนผสมในข้อ 4 บรรจุลงในกระสอบปุ๋ยประมาณ ¾ กระสอบ มัดปากกระสอบ
6. นำไปวางไว้ที่ร่ม คอยพลิกกลับกระสอบทุกวัน จนอุณหภูมิเย็นลงเป็นปกติ สามารถนำไปใช้ได้
การนำไปใช้
1. อัตราที่แนะนำให้ใช้ในพืชโดยทั่วไป 200 กก./ไร่
2. พืชผัก ใส่รองก้นหลุมก่อนปลูกประมาณ 1-2 กำมือ + เชื้อราไตรโคเดอร์มา
3.ไม้ผล ใส่รองก้นหลุมประมาณ 1-2 บุ้งกี๋ +เชื้อราไตรโคเดอร์มา และใส่รอบทรงพุ่มโดยโรยให้ทั่วแล้วคลุมทับด้วยฟาง/เศษใบไม้แห้ง
1. ใช้วัสดุในชุมชน
2. มีธาตุอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของผัก
3. ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินให้ดีและเหมาะสม ดินโปร่ง ร่วนซุย รากพืชเจริญเติบโตได้ดี
4. ใส่ลงดินติดต่อกันช่วยปรับให้คุณสมบัติดินเป็นกลาง
เกษตรกรต้องมีความรู้ความเข้าใจ สามารถผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด (เกษตรกรรู้จักดิน รู้จักพืชที่ปลูกและรู้จักปุ๋ยที่จำนำมาใช้ในการปรับปรุงดินและบำรุงพืช)
4,000.00 บาท
สถานที่ | พื้นที่ |
---|
-
-
-
สิทธิ์ | ชื่อ-นามสกุล | หน่วยงาน | เบอร์โทร |
---|
-
จำนวนผู้เข้าชม: 36