กระบวนการ (Process)
ประมง
นวัตกรรมการเพาะเลี้ยงหอยแครงในบ่อดินแบบผสมผสาน (ด้านการเลี้ยง(ผลิต) ด้านการอนุรักษ์ และด้านการขาย)
1.กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอนพืชและการตรวจวัดคุณภาพน้ำ
2.กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้านการเพาะเลี้ยงหอยแครงในบ่อดินด้วยระบบปิด
3.การจัดการบ่อเลี้ยง
1.กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอนพืชและการตรวจวัดคุณภาพน้ำ
บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับแพลงก์ตอนพืช เรียนรู้นวัตกรรมเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้นที่มีรูปแบบการใช้งานอย่างง่ายและสะดวกให้กับชุมชน วิธีแปลความหมายของข้อมูล การนำส่งข้อมูลให้แก่คณะผู้วิจัย
2.กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้านการเพาะเลี้ยงหอยแครงในบ่อดินด้วยระบบปิด
2.1 การเตรียมดินบ่อเลี้ยง
บ่อดินที่ใช้เลี้ยงหอยแครงควรมีระดับความลึกของน้ำไม่น้อยกว่า 80 เซ็นติเมตร
2.2 การจัดซื้อและตรวจสอบลูกพันธุ์หอย
เพื่อให้ความเค็มของน้ำทะเลแหล่งลูกพันธุ์หอยกับในบ่อดินมีความใกล้เคียงกัน ในเบื้องต้นเลือกใช้ลูกหอยขนาดเล็กที่เกิดตามธรรมชาติจากตำบลบางขุนไทร จังหวัดเพชรบุรี ขนาด 400-500 ตัว/กก. ตรวจสอบความแข็งแรงจากการเปิดเปลือกและอัตราการรอด ในกรณีที่เกษตรกรมีความสนใจใช้ลูกพันธุ์หอยที่มีขนาดประมาณ 10,000-12,000 ตัว/กก. เกษตรกรต้องอนุบาลลูกหอยให้ได้ขนาด 1,000-1,200 ตัว/กก. ก่อนนำไปหว่านในบ่อดินเพื่อเพิ่มขนาด
2.3 อัตราการหว่านลูกหอยแครง
จำนวนลูกหอยแครงต่อพื้นที่เลี้ยงมีผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโต จึงต้องคำนึงถึงอัตราความหนาแน่น ขนาดลูกหอย การกระจายตัว ตัวอย่างเช่น ขนาดลูกพันธุ์ 400-500 ตัว/กก. ปริมาณลูกหอยที่ปล่อยลงในบ่อ 200 กก./ ไร่ ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 8-10 เดือน ขนาดลูกพันธุ์ 800-1,000 ตัว/กก. หว่านเลี้ยงในอัตรา 400 กก./ไร่ ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 10-12 เดือน ได้ผลผลิตประมาณ 90-100 ตัว/กก.
2.4 การตรวจคุณภาพน้ำและดินตะกอน
อบรมหลักการ การฝึกทักษะการวิเคราะห์คุณภาพน้ำอย่างง่าย การจัดเตรียมบ่อดิน การบริหารจัดการน้ำ การเตรียมแพลงก์ตอนร่วมกับเกษตรกร (เตรียมชุดตรวจหาปริมาณแอมโมเนีย ไนไตรท์ ฟอสเฟต ออกซิเจนละลายน้ำ อย่างง่ายให้กับเกษตรกร ส่วนของดินตะกอนจะตรวจวิเคราะห์ TOC ด้วยเครื่องวิเคราะห์ปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในห้องปฏิบัติการ)
2.5 การตรวจการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียกลุ่มวิบริโอ
การวิเคราะห์ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มวิบริโอ โดยเก็บตัวอย่างน้ำ และดินจากบริเวณแหล่งเลี้ยงหอยแครงทั้งในบ่อดิน และแปลงเพาะเลี้ยงหอยในธรรมชาติ
3.การจัดการบ่อเลี้ยง
ระหว่างการเลี้ยงมีการนำน้ำใหม่เข้าและปล่อยน้ำเก่าออกจากบ่อ ตรวจสอบการกระจายตัวของลูกหอยแครงในแปลง สภาพตัวหอยแครง ความหนาแน่นและอัตราการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ตรวจวัดคุณภาพน้ำ สีแพลงก์ตอน กำจัดสัตว์น้ำที่เป็นศัตรูของหอย ในกรณีที่ปริมาณออกซิเจนลดลง ให้เปิดเครื่องตีน้ำ เป็นต้น
การเพิ่มขยายปริมาณแพลงก์ตอนพืช
1.กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอนพืชและการตรวจวัดคุณภาพน้ำ : ตลอดโครงการ
2.กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้านการเพาะเลี้ยงหอยแครงในบ่อดินด้วยระบบปิด
2.1 การเตรียมดินบ่อเลี้ยง : บ่อดินมีระดับความลึกของน้ำไม่น้อยกว่า 80 เซ็นติเมตร
2.2 การจัดซื้อและตรวจสอบลูกพันธุ์หอย: ลูกหอยขนาดเล็กที่เกิดตามธรรมชาติจากตำบลบางขุนไทร จังหวัดเพชรบุรี
2.3 อัตราการหว่านลูกหอยแครง : ขนาดลูกพันธุ์ 400-500 ตัว/กก. ปริมาณลูกหอยที่ปล่อยลงในบ่อ 200 กก./ ไร่ ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 8-10 เดือน ขนาดลูกพันธุ์ 800-1,000 ตัว/กก. หว่านเลี้ยงในอัตรา 400 กก./ไร่ ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 10-12 เดือน ได้ผลผลิตประมาณ 90-100 ตัว/กก.
2.4 การตรวจคุณภาพน้ำและดินตะกอน: ทุกเดือนตลอดโครงการ
2.5 การตรวจการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียกลุ่มวิบริโอ : ทุกเดือนตลอดโครงการ
3.การจัดการบ่อเลี้ยง :การนำน้ำใหม่เข้าและปล่อยน้ำเก่าออกจากบ่อเดือนละ ๑ ครั้ง ตรวจสอบการกระจายตัวของลูกหอยแครงในแปลง สภาพตัวหอยแครง ความหนาแน่นและอัตราการเจริญเติบโตสม่ำเสมอทุก 1-2 ครั้ง/เดือน
0.00 บาท
สถานที่ | พื้นที่ |
---|
-
-
-
สิทธิ์ | ชื่อ-นามสกุล | หน่วยงาน | เบอร์โทร |
---|
-
จำนวนผู้เข้าชม: 46