กระบวนการ (Process)
ประมง
นวัตกรรมการเพาะเลี้ยงหอยแครงในบ่อดินแบบผสมผสาน (ด้านการเลี้ยง(ผลิต) ด้านการอนุรักษ์ และด้านการขาย)
1. การเพิ่มประสิทธิภาพของการเลี้ยงตามศักยภาพของพื้นที่
1.1 การวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ วัดค่าซัลไฟด์ สารอินทรีย์ในดิน ปริมาณน้ำและคาร์บอนในดิน
1.2 เครื่องวัดคุณภาพน้ำภาคสนาม (pH, ความเค็ม, อุณหภูมิ) ชุดทดสอบคุณภาพน้ำภาคสนาม (DO, แอมโมเนีย, ฟอสเฟต) ปริมาณคลอโรฟิลล์ในน้ำ (ทำวิธีการให้ง่าย)
1.3 โมเดลทางสมุทรศาสตร์ อธิบายการเคลื่อนที่ของมลพิษ ตามฤดูกาลและสถานที่ในอ่าวไทยตอนใน รวมถึงการขัดขวางการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำ
1.4 ภาพถ่ายทางอากาศสามารถใช้แสดงตำแหน่งของบ่อ และการเชื่อมต่อกับแหล่งน้ำประโยชน์ในการประเมินคลอโรฟิลล์ และประเมิน
2. การเพิ่มมูลค่า โดยยกระดับความปลอดภัยของอาหาร ด้วยเทคโนโลยีการลดเชื้อระบบน้ำหมุนเวียน
-ระบบลดเชื้อด้วยระบบน้ำหมุนวน
1. การเพิ่มประสิทธิภาพของการเลี้ยงตามศักยภาพของพื้นที่
เป็นการนำเทคโนโลยีพร้อมใช้มาบูรณาการกับองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และสมดุลธรรมชาติ ร่วมกับองค์ความรู้ของเกษตร เพื่อดึงศักยภาพของพื้นที่ในการเลี้ยงหอยแครงออกมาให้ได้เหมาะสมที่สุด
2. การเพิ่มมูลค่า โดยยกระดับความปลอดภัยของอาหาร ด้วยเทคโนโลยีการลดเชื้อระบบน้ำหมุนเวียน
โดยมีต้นแบบมาจากการลดเชื้อหอยนางรม ซึ่งเทคโนโลยีจะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ พัฒนานวัตกร และจำเป็นต้องมีการปรับใช้ในพื้นที่ และในสถานการณ์อื่นๆ ได้ในอนาคต จึงจำเป็นต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานภายในบ่อก่อน ระหว่าง และหลังการเลี้ยง (ร่วมกับนวัตกรรมชุมชน) หรือ ติดตามปริมาณเชื้อหลังจากผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบ
1.เน้นการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ผ่านการถอดบทเรียนร่วมกันกับกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ การวิเคราะห์ปัญหาของพื้นที่ การเก็บตัวอย่างอย่างสม่ำเสมอ และการวิเคราะห์ข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเป็นการร่วมกันแก้ปัญหาและส่งเสริมศักยภาพการผลิตหอยแครงให้สามารถสร้างองค์ความรู้ รายได้ และนวัตกรรม รวมทั้งเพื่อให้นวัตกรที่เกิดขึ้นจากโครงการสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยี ส่งต่อสู่ชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์กรในระดับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
2.ส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพดินตอนที่สำคัญ ได้แก่
-สารอินทรีย์คาร์บอน
-ปริมาณซัลไฟล์ โดยเฉพาะซัลไฟล์ถือเป็นปัจจัยที่มีความเป็นพิษสูงต่อหอยแครง ซึ่งมักจะพบในสภาวะที่มีการสะสมของสารอินทรีย์ในบ่อสูง รวมกับปริมาณออกซิเจนในน้ำต่ำ
-ติดตั้งเครื่องชุดตรวจสอบคุณภาพน้ำแบบ real-time เพื่อเป็นการติดตามคุณภาพน้ำแบบต่อเนื่องเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเป็นแบบจำลองและส่งต่อให้เกษตรนำไปใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำภายในบ่ออย่างเป็นระบบ และทำให้อัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 50
1. การเพิ่มประสิทธิภาพของการเลี้ยงตามศักยภาพของพื้นที่
1.1 การวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ วัดค่าซัลไฟด์ สารอินทรีย์ในดิน ปริมาณน้ำและคาร์บอนในดิน: วัดเดือนละ 1 ครั้ง ที่ ม. บูรพา นวัตกรเก็บตัวอย่างดินเอง
1.2 เครื่องวัดคุณภาพน้ำภาคสนาม (pH, ความเค็ม, อุณหภูมิ) ชุดทดสอบคุณภาพน้ำภาคสนาม (DO, แอมโมเนีย, ฟอสเฟต) ปริมาณคลอโรฟิลล์ในน้ำ (ทำวิธีการให้ง่าย): วัดทุกสัปดาห์ นวัตกรวัดเอง ด้วยเครื่องและชุดทดสอบภาคสนาม ม.บูรพา วัดสารอาหารและคลอโรฟิลล์ ด้วยเครื่องสเปคโทรโฟโตมิเตอร์
1.3 โมเดลทางสมุทรศาสตร์ อธิบายการเคลื่อนที่ของมลพิษ ตามฤดูกาลและสถานที่ในอ่าวไทยตอนใน รวมถึงการขัดขวางการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำ: จัดทำโดย ม. บูรพา (ตลอดโครงการ)
1.4 ภาพถ่ายทางอากาศสามารถใช้แสดงตำแหน่งของบ่อ และการเชื่อมต่อกับแหล่งน้ำประโยชน์ในการประเมินคลอโรฟิลล์ และประเมิน: จัดทำโดย ม. บูรพา (ตลอดโครงการ)
2. การเพิ่มมูลค่า โดยยกระดับความปลอดภัยของอาหาร ด้วยเทคโนโลยีการลดเชื้อระบบน้ำหมุนเวียน
-ระบบลดเชื้อด้วยระบบน้ำหมุนวน : ตั้งไว้บริการที่ฟาร์มทะเลตัวอย่างฯ
0.00 บาท
สถานที่ | พื้นที่ |
---|
-
-
-
สิทธิ์ | ชื่อ-นามสกุล | หน่วยงาน | เบอร์โทร |
---|
-
จำนวนผู้เข้าชม: 49