นวัตกรรมการเพาะเลี้ยงหอยแครงในบ่อดินแบบผสมผสาน (ด้านการเลี้ยง(ผลิต) ด้านการอนุรักษ์ และด้านการขาย)

ประเภทของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

กระบวนการ (Process)

กลุ่มของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

ประมง

อ้างอิงนวัตกรรม

การเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าการเลี้ยงหอยแครงในบ่อดินของจังหวัดเพชรบุรี

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

1.ความเชี่ยวชาญของทีมวิจัยที่มีความพร้อมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ชุมชน (เทคโนโลยี)
1.1 การวิเคราะห์คุณภาพดิน: การวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ วัดค่าซัลไฟด์ สารอินทรีย์ในดิน ปริมาณน้ำและคาร์บอนในดิน
1.2 การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ: เครื่องวัดคุณภาพน้ำภาคสนาม (pH, ความเค็ม, อุณหภูมิ) ชุดทดสอบคุณภาพน้ำภาคสนาม (DO, แอมโมเนีย, ฟอสเฟต)
ปริมาณคลอโรฟิลล์ในน้ำ (ทำวิธีการให้ง่าย)
1.3 การเลี้ยงแพลงก์ตอนพืช: การเลี้ยงขยายในบ่อที่ใหญ่ขึ้นในฟาร์มไว้เสริมการเลี้ยงหอยและอนุบาลลูกหอย
1.4 การเตรียมพื้นบ่อด้วยจุลินทรีย์: จุลินทรีย์ ปม. 1 ของกรมประมง
1.5 การระบุแพลงก์ตอนพืช: การระบุชนิดของแพลงก์ตอนพืช
1.6 ความรู้ด้านสมุทรศาสตร์: โมเดลทางสมุทรศาสตร์ อธิบายการเคลื่อนที่ของมลพิษตามฤดูกาลและสถานที่ในอ่าวไทยตอนใน รวมถึงการขัดขวางการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำ
1.7 ความรู้ด้านโทรสัมผัสและภาพถ่ายทางอากาศ: ภาพถ่ายทางอากาศสามารถใช้แสดงตำแหน่งของบ่อ และการเชื่อมต่อกับแหล่งน้ำประโยชน์ในการประเมินคลอโรฟิลล์ และประเมิน
1.8 การพัฒนาความสมบูรณ์เพศของหอย: ติดตามวัยเจริญพันธุ์ สำหรับการพัฒนาเป็นแม่พันธุ์ในอนาคต
1.9 การตรวจวิเคราะห์เชื้อก่อโรค: เทคนิคการตรวจภาคสนาม การตรวจในห้องปฏิบัติการ
1.10 ระบบลดเชื้อด้วยระบบน้ำหมุนวน: ระบบลดเชื้อฯ

2. ความรู้ความเชี่ยวชาญหรือเทคโนโลยีของคนในพื้นที่หรือที่ชุมชนมีอยู่
2.1 คุณภาพน้ำแบบองค์รวม การไหลเวียนของน้ำในบ่อ (ประตูน้ำที่ควบคุมระดับน้ำ) และเทคโนโลยีการให้อากาศ (ใบพัดตีน้ำ หรือ super charge หรือปั๊มน้ำ)


อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

ความรู้ความเชี่ยวชาญของคณะผู้วิจัยเป็นเรื่องความสัมพันธ์ของปัจจัยที่อยู่ในระบบนิเวศของบ่อเลี้ยง และสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ ซึ่งสามารถเสริมภูมิปัญญาของชุมชน

จุดเด่น

โครงการวิจัยนี้คาดหวังว่าจะสามารถลดทอนความซับซ้อนของเทคนิคการตรวจวัดให้ชุมชนสามารถใช้งานได้ง่าย

เงื่อนไขการใช้เทคโนโลยี

1. การวิเคราะห์คุณภาพดิน: วัดเดือนละ 1 ครั้ง ที่ ม. บูรพา (นวัตกรเก็บตัวอย่างดินเอง)
2. การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ: วัดทุกสัปดาห์ (นวัตกรวัดเอง ด้วยเครื่องและชุดทดสอบภาคสนาม) ม. บูรพา วัดสารอาหารและคลอโรฟิลล์ด้วยเครื่องสเปคโทรโฟโตมิเตอร์
3. การเลี้ยงแพลงก์ตอนพืช: ม. บูรพา สนับสนุนหัวเชื้อบริสุทธิ์
4. การเตรียมพื้นบ่อด้วยจุลินทรีย์: ศพช. สนับสนุนจุลินทรีย์
5. ความรู้ด้านสมุทรศาสตร์: ม.บูรพา ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นวัตกร
6. ความรู้ด้านโทรสัมผัสและภาพถ่ายทางอากาศ: ม.บูรพา ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นวัตกร
7. การพัฒนาความสมบูรณ์เพศของหอย: เดือนละ 1 ครั้ง (ม. บูรพา)
8. การตรวจวิเคราะห์เชื้อก่อโรค: วัดเดือนละ 1 ครั้ง (ม. บูรพา)
9. ระบบลดเชื้อด้วยระบบน้ำหมุนวน: ตั้งไว้บริการที่ฟาร์มทะเลตัวอย่างฯ
10. ประตูน้ำที่ควบคุมระดับน้ำ: มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำตามความเหมาะสม

ต้นทุนการใช้นวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้

0.00 บาท

รายการพื้นที่ของนวัตกรรมพร้อมใช้ / เทคโนโลยีที่เหมาะสม

สถานที่ พื้นที่

ระดับความพร้อมของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

เริ่มต้น
6
ณ สิ้นสุดโครงการ
7

ระดับความพร้อมของสังคม/ชุมชน

เริ่มต้น
4
ณ สิ้นสุดโครงการ
5

รูปแบบทรัพย์สินทางปัญญา

-

เลขที่คำขอ

-

เลขที่ทรัพย์สินทางปัญญา

-

ผู้เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตร

สิทธิ์ ชื่อ-นามสกุล หน่วยงาน เบอร์โทร

ข้อถือสิทธิ์

-

เอกสาร

  • ไม่มีเอกสาร

วีดีโอ

  • ไม่มีลิงค์วีดีโอ

จำนวนผู้เข้าชม: 42