ถังบำบัดแบบชั้นตัวกลางฟิล์มชีวภาพเคลื่อนที่ร่วมกับระบบกวนผสมแบบสถิตย์สำหรับการบำบัดน้ำกร่อย

ประเภทของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

สินค้า/ผลิตภัณฑ์ (Product)

กลุ่มของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

สิ่งแวดล้อม

อ้างอิงนวัตกรรม

-

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

อยู่ระหว่างการยื่นขอจดสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตร กรุณาติดต่อเจ้าของผลงาน

อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

อยู่ระหว่างการยื่นขอจดสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตร กรุณาติดต่อเจ้าของผลงาน

จุดเด่น

ผศ. ดร.ธิดารัตน์ บุญศรี และคณะ ซึ่งเป็นคณะผู้วิจัยที่มีประสบการณ์ในการบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยปฏิกรณ์ชั้นฟิล์มตัวกลางชีวภาพ เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบบำบัดแบบชั้นฟิล์มตัวกลางชีวภาพเคลื่อนที่สำหรับการเกษตร ที่สามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำทั้งทางเคมีและชีวภาพ ให้เหมาะสมต่อการเลี้ยงลูกปลากะพง และสามารถกำจัดหรือลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลากะพง ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อัตราการตายของปลากะพงสูง โดยมุ่งเน้นให้เป็นระบบบำบัดแบบอัตโนมัติ ที่ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงลูกปลากะพง สามารถตรวจติดตามคุณภาพน้ำได้แบบเรียลไทม์ (real-time) ที่จะนำไปสู่การเพาะเลี้ยงลูกปลากะพงแบบแม่นยำ (precision seabass fish farming) และเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP)

เงื่อนไขการใช้เทคโนโลยี

มีการทดสอบประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำกร่อยในบ่อเลี้ยงปลากะพงที่เปฺดกระชังบก แต่ยังไม่ได้นำไปใช้กับการเพาะเลี้ยงในน้ำ (aquaculture) ในสภาวะจริงในทะเล

ต้นทุนการใช้นวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้

1,996,047.00 บาท

รายการพื้นที่ของนวัตกรรมพร้อมใช้ / เทคโนโลยีที่เหมาะสม

สถานที่ พื้นที่

ระดับความพร้อมของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

เริ่มต้น
7
ณ สิ้นสุดโครงการ
9

ระดับความพร้อมของสังคม/ชุมชน

เริ่มต้น
3
ณ สิ้นสุดโครงการ
3

รูปแบบทรัพย์สินทางปัญญา

สิทธิบัตร

เลขที่คำขอ

2101006886

เลขที่ทรัพย์สินทางปัญญา

-

ผู้เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตร

สิทธิ์ ชื่อ-นามสกุล หน่วยงาน เบอร์โทร

ข้อถือสิทธิ์

1.ถังบำบัดแบบชั้นตัวกลางฟิล์มชีวภาพเคลื่อนที่ร่วมกับระบบกวนผสมแบบสถิตย์สำหรับการบำบัดน้ำกร่อย ภายในถังจะประกอบด้วย
ส่วนปรับเสถียร (a) จะทำหน้าที่ตกตะกอนขั้นต้น (pre-sedimentation) เพื่อแยกตะกอน ดูดซับไขมันและคอลลอยด์ โดยภายในจะประกอบด้วยท่อน้ำเข้า (inlet) (1) น้ำเสียจะถูกสูบเข้าผ่านท่อน้ำเข้ามาในส่วนปรับเสถียร (equalization) และมีการติดตั้งลูกลอย เพื่อควบคุมอัตราการไหลเพื่อกักพักในส่วนตกตะกอนขั้นต้น ตะกอนที่ปะปนในน้ำเสียและไขมันทั้งในรูปของเหลวและคอลลอยด์จะลอยขึ้นสู่ผิวของวัสดุตัวกลางดักไขมัน (2) ตัวกลางดักไขมัน (2) ทำจากวัสดุพลาสติกที่ทนต่อแสงยูวี พร้อมทั้งมีรางลำเลียงไขมัน (3) ที่วางขวางการไหลของน้ำ ไขมันจะไหลออกไปตามรางลำเลียงไขมัน (3) ไปยังจุดระบายไขมัน (4) น้ำจะถูกกักพักเป็นเวลา 6 ชั่วโมงในส่วนปรับเสถียร หลังจากนั้นน้ำจะถูกสูบด้วยท่อสูบน้ำด้วยแรงดันอากาศผ่านท่อสูบน้ำด้วยแรงดันอากาศ (17) ไปยังส่วนเติมอากาศ
ส่วนเติมอากาศ (b) จะประกอบด้วย ท่อเติมอากาศ (9) เป็นท่อหลัก ท่อเติมอากาศ (9) จะต่อเข้ากับเครื่องเติมอากาศ (air pump) (8) ที่มีกำลังอย่างน้อย 1.1 กิโลวัตต์ มีอัตราการเติมอากาศอย่างน้อย 900 ลิตร/นาที ที่ความดันไม่ต่ำกว่า 2 เมตร น้ำ (mH2O) ระบบกวนผสมแบบสถิตย์ (5) มีลักษณะเป็นท่อบรรจุในท่อหลัก โดยจะถูกต่อกับท่อสูบน้ำด้วยแรงดันอากาศ (17) วัสดุตัวกลางชีวภาพ (10) ที่ใช้มีพื้นที่ผิวประสิทธิภาพ (effective area) อย่างน้อย 800 ตร.ม./ลบ.ม. มีค่าความถ่วงจำเพาะไม่ต่ำกว่า 0.95 จำนวนอย่างน้อย 1.75 ลบ.ม. น้ำเสียจะกักพักในส่วนเติมอากาศเป็นเวลา 3.1 ชั่วโมง แล้วจะไหลจากส่วนเติมอากาศสู่ส่วนตกตะกอน ผ่านช่องกวนผสม (mixing chamber) (11) ที่มีขนาดช่องว่าง 0.2 ม. ผ่านช่องที่วางเอียง 45 องศา (12) พร้อมทั้งติดตั้งฝายสันคม (sharp crested weir) (18) ที่ติดตั้งในระยะยาว 0.4 เมตร จากผนังช่องกวนผสม
ส่วนตกตะกอน (c) ขนาดความกว้างอย่างน้อย 1.0 เมตร และความยาวอย่างน้อย 3 เมตร มีการกั้นช่อง (chamber) 2 ห้อง โดยมีแผ่นกั้น (baffle) (13) ที่ติดตั้งขวางการไหลของน้ำ จำนวน 1 แผ่น แผ่นกั้นจะมีการฝนขอบด้านบนให้บาง เช่นเดียวกับฝายสันคม (sharp crested weir) (13) ที่จะชะลอความเร็วในการไหลของน้ำสู่ท่อน้ำออก (14) โดยน้ำเสียจะกักพักในส่วนตกตะกอนเป็นเวลา 0.3 ชั่วโมง ก่อนปล่อยออกทางช่องทางน้ำออก (14) และด้านบนของถังจะมีตะแกรงครอบ (15) เพื่อป้องกันเศษวัสดุ
2.ถังบำบัดแบบชั้นตัวกลางฟิล์มชีวภาพเคลื่อนที่ร่วมกับระบบกวนผสมแบบสถิตย์สำหรับการบำบัดน้ำกร่อยตามข้อถือสิทธิที่ 1 ที่ซึ่ง ระบบกวนผสมแบบสถิตย์ที่ใช้จะต้องมีค่าเรย์โนลด์ (Reynold number) ไม่ต่ำกว่า 10,000
3.ถังบำบัดแบบชั้นตัวกลางฟิล์มชีวภาพเคลื่อนที่ร่วมกับระบบกวนผสมแบบสถิตย์สำหรับการบำบัดน้ำกร่อยตามข้อถือสิทธิที่ 1 หรือ 2 ที่ซึ่ง ส่วนปรับเสถียร (a) มีขนาด 1.0x1.3x1.5 ม. ส่วนเติมอากาศ (b) มีขนาด 1.0x1.7x1.5 ม. ส่วนตกตะกอน (c) ขนาดความกว้างอย่างน้อย 1.0 เมตร และความยาวอย่างน้อย 3.0 เมตร
4.ถังบำบัดแบบชั้นตัวกลางฟิล์มชีวภาพเคลื่อนที่ร่วมกับระบบกวนผสมแบบสถิตย์สำหรับการบำบัดน้ำกร่อยตามข้อถือสิทธิที่ 1 ถึง 3 ข้อใดข้อหนึ่ง ที่ซึ่ง วัสดุตัวกลางดักไขมัน (2) มีขนาด 1.0x0.9x0.6 ม.ทำจากวัสดุพลาสติกที่ทนต่อแสงยูวี ท่อสูบน้ำด้วยแรงดันอากาศ (17) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว ท่อเติมอากาศ (9) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว ยาว 1.3 ม. ระบบกวนผสมแบบสถิตย์ (5) มีลักษณะเป็นท่อมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว ยาว 0.76 ม. ช่องกวนผสม (mixing chamber) (11) มีขนาดช่องว่าง 0.2 ม.
5.ถังบำบัดแบบชั้นตัวกลางฟิล์มชีวภาพเคลื่อนที่ร่วมกับระบบกวนผสมแบบสถิตย์สำหรับการบำบัดน้ำกร่อยตามข้อถือสิทธิที่ 1 ถึง 4 ข้อใดข้อหนึ่ง ที่ซึ่ง ระบบกวนผสมแบบสถิตย์ (5) จะใช้ด้วยท่อ 3 ทาง โดยท่ออัดอากาศ (19) จะวางเอียง 45 องศา อากาศจะผสมกับน้ำที่ผ่านท่อสูบน้ำด้วยแรงดันอากาศ (17) ที่อยู่ในท่อตรง อากาศและน้ำผ่านสู่ท่อกวนผสมแบบสถิตย์ (20) ที่จะทำให้เกิดการไหลแบบปั่นป่วน จนอากาศเป็นฟองจิ๋ว ที่สามารถละลายน้ำได้ดี แล้วจึงปล่อยน้ำที่ผสมอากาศออกไปยังท่องอ 90 องศา และปล่อยสู่ส่วนเติมอากาศ (b)
เครื่องกวนผสมที่ใช้เป็นชนิดใบพัดเกลียว (Blade design mixer) ทำด้วยสเตนเลส ชนิด 4 ใบพัด (4-Blade) จำนวน 2 ชุด
6.ถังบำบัดแบบชั้นตัวกลางฟิล์มชีวภาพเคลื่อนที่ร่วมกับระบบกวนผสมแบบสถิตย์สำหรับการบำบัดน้ำกร่อยตามข้อถือสิทธิที่ 1 ถึง 5 ข้อใดข้อหนึ่ง ที่ซึ่ง ถังบำบัดสามารถรองรับอัตราการไหลของน้ำเสียที่ 10 ลบ.ม./วัน โดยป้อนน้ำเสียที่มีค่าบีโอดีในช่วง 7.4-3650 มก./ล. หรือค่าบีโอดีเฉลี่ย 200 มก./ล. ค่าความเค็มของน้ำอยู่ในช่วง 0.7-2.0 ส่วนในพันส่วน (parts per thousand, ppt) โดยควบคุมให้มีการจ่ายออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 3.0 มก./ล. ในส่วนของถังเติมอากาศ จุลินทรีย์จะสามารถรองรับอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ได้อย่างต่ำ 0.0018 kg BOD5/d

เอกสาร

  • ไม่มีเอกสาร

วีดีโอ

  • ไม่มีลิงค์วีดีโอ

รูปภาพ

  • ไม่มีรูป
  • จำนวนผู้เข้าชม: 32