ต้นแบบชุดอุปกรณ์วัดความขุ่นแบบท่อชนิดแผ่นสังเกตเคลื่อนที่

ประเภทของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

สินค้า/ผลิตภัณฑ์ (Product)

กลุ่มของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

สิ่งแวดล้อม

อ้างอิงนวัตกรรม

-

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

ต้นแบบชุดอุปกรณ์วัดความขุ่นแบบท่อชนิดแผ่นสังเกตเคลื่อนที่นี้ พัฒนาจากแนวคิด Secchi depth ซึ่งอ้างถึงกฎของเบียร์-แลมเบิร์ตซึ่งถูกใช้ในการวิเคราะห์ทางเคมีเพื่อวัดความเข้มข้นของสารเคมีที่ดูดซับแสง ซึ่งบ่งขี้ว่าปริมาณคอลลอยด์และสารแขวนลอยจะแปรผันตามปริมาณแสงที่สามารถส่องผ่านได้ ซึ่งปริมาณแสงที่ส่องผ่านได้นี้มีความสัมพันธ์กับระยะห่างระหว่างผิวน้ำและแผ่นสังเกตจากผลของการลดทอนจากการกระเจิงในสารตัวกลาง (Attenuation effect) และสามารถระบุออกมาเป็นค่าความขุ่นมาตรฐานได้ โดยนักวิจัยได้ศึกษาแนวทางในการนำข้อดีของการวัดด้วย Secchi disc ซึ่งมีลักษณะเคลื่อนที่ขยับได้มาใช้ในการสังเกตความขุ่นของน้ำด้วยกระบอกวัดความขุ่นแบบเดิมซึ่งมีลักษณะแผ่นสังเกตอยู่กับที่ทางด้านล่างของกระบอก ซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้งานเนื่องจากต้องเติมน้ำและสังเกตไปพร้อมกัน การปรับปรุงนี้ทำให้การสังเกตความขุ่นของน้ำทำได้สะดวกและแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้นักวิจัยยังได้พัฒนาส่วนแผ่นสังเกตให้มีแผ่นที่มีความขุ่นค่าหนึ่งเพิ่มเติมเพื่อให้แผ่นสังเกตมีการกระเจิงแสงเพิ่มค่าหนึ่งก่อนผ่านชั้นคอลัมน์ตัวกลางน้ำในกระบอก เพื่อให้สามารถวัดความขุ่นของน้ำได้ลงไปต่ำเพียงพอในการใช้งานในระบบผลิตน้ำประปาของชุมชน (4 NTU) ซึ่งผลการพัฒนาพบว่าต้นแบบชุดอุปกรณ์วัดความขุ่นแบบท่อชนิดแผ่นสังเกตเคลื่อนที่นี้ สามารถวัดความขุ่นของน้ำได้ระหว่าง 3.5 - 200 NTU โดยมีผลการทดสอบความแม่นยำเปรียบเทียบกับอุปกรณ์วัดความขุ่นมาตรฐาน (HANNA HI98703) พบว่าการตรวจวัดค่อนข้างมีความสม่ำเสมอในช่วง 4-95 NTU โดยมีค่าไม่แตกต่างจากค่ามาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญ (t-test, P = 0.342) โดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์(Correlation) ระหว่างอุปกรณ์ต้นแบบที่พัฒนาขึ้นนี้กับอุปกรณ์มาตรฐานมีค่า 0.9943

อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

อุปกรณ์วัดความขุ่นแบบท่อชนิดแผ่นสังเกตเคลื่อนที่ ประกอบไปด้วย
1. ท่อทรงกระบอก ซึ่งทำจากวัสดุพลาสติกที่มีลักษณะใส ที่มีการเชื่อมปิดปลายเป็นฐานด้านล่าง และทำสัญลักษณ์ระบุตำแหน่งจุดเติมน้ำสูงสุด
2. ก้านสังเกต ซึ่งสร้างจากท่ออลูมิเนียมหรือสแตนเลสยาวหรือมีเชือกมัดต่อความยาวด้านบน โดยมีการยึดติดกับแผ่นสังเกต ลักษณะทรงกลมหรือสี่เหลี่ยมที่ทำจากพลาสติกหรือโลหะที่แข็งแรงด้วยสกรู มีการทำสัญลักษณ์ที่สังเกตได้ง่ายเช่นรูปตัดแบ่งสี่ส่วนและใช้สีเข้มเช่น น้ำเงินหรือดำ
3. ตารางเทียบ ค่าระยะความลึกที่เริ่มมองไม่เห็นแผ่นสังเกตุ เปรียบเทียบกับค่าความขุ่นมาตรฐาน

จุดเด่น

- ในการใช้งานภาคสนาม อุปกรณ์มีความเหมาะสมในด้านการใช้งาน ราคาและให้ค่าตรวจวัดที่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับอุปกรณ์มาตรฐาน
- ในด้านการผลิตในลักษณะ Mass production นั้นอุปกรณ์ต้นแบบนี้ สามารถเข้าสู่กระบวนการผลิตได้ทันที เนื่องจากมีขั้นตอนการผลิตที่ไม่ซับซ้อน ใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องตลาด และมีต้นทุนต่ำ สามารถขยายผลการใช้งานในภาพกว้างได้ง่าย
- ใช้งานง่าย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ
1. เติม-เต็ม เติมน้ำตัวอย่างลงในกระบอกจนเต็มขีดด้านบนที่ทำเครื่องหมายไว้และมีระยะความลึกน้ำ 0 ซม.
2. หย่อน-สังเกต หย่อนก้านที่ติดแผ่นสังเกตจากทางด้านบน ค่อยๆ มองสังเกตตามแผ่นช้าๆว่า เริ่มมองไม่เห็นที่จุดไหน โดยสามารถหมุนก้านไปมาหรือขยับขึ้นลงเพื่อให้สามารถเห็นแผ่นได้อย่างชัดเจนและแม่นยำมากขึ้น
3. วัด-เทียบ อ่านค่าระยะความลึกที่เริ่มมองไม่เห็นแผ่นฯ แล้วนำไปเทียบตารางคำนวณค่าความขุ่นมาตรฐาน

เงื่อนไขการใช้เทคโนโลยี

ใช้สำหรับวัดความขุ่นของน้ำในช่วง 4-95 NTU

ต้นทุนการใช้นวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้

650.00 บาท

รายการพื้นที่ของนวัตกรรมพร้อมใช้ / เทคโนโลยีที่เหมาะสม

สถานที่ พื้นที่

ระดับความพร้อมของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

เริ่มต้น
7
ณ สิ้นสุดโครงการ
7

ระดับความพร้อมของสังคม/ชุมชน

เริ่มต้น
7
ณ สิ้นสุดโครงการ
7

รูปแบบทรัพย์สินทางปัญญา

อนุสิทธิบัตร

เลขที่คำขอ

2403001079

เลขที่ทรัพย์สินทางปัญญา

-

ผู้เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตร

สิทธิ์ ชื่อ-นามสกุล หน่วยงาน เบอร์โทร

ข้อถือสิทธิ์

-

เอกสาร

  • ไม่มีเอกสาร

รูปภาพ

จำนวนผู้เข้าชม: 48