เทคโนโลยีการกำจัดขยะอินทรีย์ด้วย BSF

ประเภทของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

กระบวนการ (Process)

กลุ่มของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

การเกษตร/อุปกรณ์ทางการเกษตร

อ้างอิงนวัตกรรม

-

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

อยู่ระหว่างการยื่นขอจดสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตร กรุณาติดต่อเจ้าของผลงาน

อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

อยู่ระหว่างการยื่นขอจดสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตร กรุณาติดต่อเจ้าของผลงาน

จุดเด่น

การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยง BSF เพื่อจัดการขยะอินทรีย์และการต่อยอดสู่การผลิตอาหารเลี้ยงไก่พื้นเมืองกับฟาร์มต้นแบบในจังหวัดน่าน เพื่อลดต้นทุนการจัดการขยะเศษอาหารและผลพลอยได้ทางการเกษตรของพื้นที่ในจังหวัดน่าน และการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติระดับตำบล อำเภอและจังหวัด โดยขยายผลการกำจัดขยะอินทรีย์ด้วยหนอน BSF และการใช้ประโยชน์จากหนอน BSF เพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์ลดต้นทุน โดยในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงแมลง BSF เพื่อจัดการขยะอินทรีย์และการต่อยอดสู่การผลิตอาหารเลี้ยงไก่พื้นเมืองกับฟาร์มต้นแบบในจังหวัดน่าน การก่อสร้างโรงเรือนต้นแบบเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์และต้นแบบเพาะเลี้ยง BSFL ในพื้นที่ ตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง และการเลี้ยงตัวอ่อนแมลง BSF โดยเบื้องต้น ข้าวกับน้ำฟาร์มสเตย์ เป็นผู้ดำเนินการรับอนุบาลไข่ BSF เพื่อมอบ BSFL ที่แข็งแรงในระดับหนึ่งแล้วให้ทางกลุ่มพื้นที่เป้าหมายต่อไป หลังจากที่ทางกลุ่มพื้นที่อื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 10 ตำบล ที่มีความพร้อมในการเลี้ยงด้วยตนเอง จะดำเนินการให้นำไข่ BSF ไปอนุบาลและเลี้ยงแบบครบวงจร
การบ่มเพาะนวัตกรชุมชน ให้มีองค์ความรู้ด้านการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยแมลง BSF และสื่อการเรียนรู้ โดยการสร้างเครือข่ายนวัตกรนายสถานี และนวัตกรชุมชนต้นแบบ เพื่อต่อยอดจากต้นแบบระบบจัดการขยะอินทรีย์ นำไปสู่รูปแบบระบบจัดการขยะอินทรีย์ด้วย BSF ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ณ ตำบลเชียงกลาง นอกจากนั้นการต่อยอดแมลง BSF สู่อาหารสัตว์โปรตีนสูง และการเป็นนวัตกรที่สามารถถ่ายทอดนวัตกรรมไปสู่ทุกภาคส่วน และจัดทำหลักสูตรเรียนออนไลน์ สำหรับเป็นพื้นที่การเรียนรู้ ที่จะสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
กระบวนการสร้างกลไก และภาคีความร่วมมือในพื้นที่เป้าหมาย คณะผู้วิจัยได้มีการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยการเชื่อมโยงกับนักวิจัยที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ทำการวิจัย ซึ่งความชัดเจนของกลไกและภาคีความร่วมมือการพัฒนาพื้นที่ และหน่วยงานผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง โดยการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับเทศบาลตำบลเชียงกลางเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยองค์ความรู้ ของมหาวิทยาลัย รวมถึงการเลี้ยงแมลง BSF ตลอดจนความร่วมมือด้านงานวิจัย บูรณาการวิชาการ ภูมิปัญญา และเทคโนโลยีอย่างสมดุล แพร่กระจายถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม

เงื่อนไขการใช้เทคโนโลยี

ต้นทุนการใช้นวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้

0.00 บาท

รายการพื้นที่ของนวัตกรรมพร้อมใช้ / เทคโนโลยีที่เหมาะสม

สถานที่ พื้นที่

ระดับความพร้อมของนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่เหมาะสม

เริ่มต้น
8
ณ สิ้นสุดโครงการ
8

ระดับความพร้อมของสังคม/ชุมชน

เริ่มต้น
7
ณ สิ้นสุดโครงการ
7

รูปแบบทรัพย์สินทางปัญญา

ไม่ได้ขอขึ้นทะเบียน

เลขที่คำขอ

-

เลขที่ทรัพย์สินทางปัญญา

-

ผู้เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตร

สิทธิ์ ชื่อ-นามสกุล หน่วยงาน เบอร์โทร

ข้อถือสิทธิ์

-

รูปภาพ

  • ไม่มีรูป
  • จำนวนผู้เข้าชม: 39