สินค้า/ผลิตภัณฑ์ (Product)
สิ่งแวดล้อม
-
ปัจจุบันการจัดการเชื้อเพลิงเชิงวิชาการที่เรียกว่าการชิงเผามีการกำหนดวันที่ตายตัวในแต่ละปี ซึ่งตามหลักวิชาการพบว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมในการชิงเผาที่เหมาะสมในแต่ละปีไม่ตรงกัน เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความแห้งแล้งของปี ความเร็วลมในช่วงเวลาใด ๆ ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ เป็นต้น ดังนั้นการกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมจึงจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีและองค์ความรู้ทางวิศวกรรม คือ การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมแปลผลเป็นดัชนีความต่างพรรณพืช (NDVI) ที่มีความเกี่ยวข้องแบบแปรผกผันตรงกับปริมาณคลอโรฟิลล์บนใบไม้ที่อธิบายความแห้งของใบก่อนจะหลุดล่วงสู่ผิวดิน และดัชนีความต่างความชื้น (NDMI) ที่บ่งบอกถึงค่าความชื้นในบริเวณนั้น ๆ ซึ่งมีผลโดยตรงกับการลดลงของคลอโรฟิลล์ และปริมาณการร่วงหล่นของใบไม้บนเรือนยอด ซึ่งจะนำข้อมูลดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับข้อมูลปริมาณเชื้อเพลิงสะสมผิวดินที่ได้จากการเก็บข้อมูลในพื้นที่ และในพิกัดเดียวกันกับชุดข้อมูลดัชนีจากภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อแปลผลเป็นแนวโมปริมาณเชื้อเพลิงสะสมบนผิวดินในช่วงเวลาใด ๆ ใช้ประกอบการตัดสินใจกำหนดช่วงเวลาชิงเผาที่เหมาะสมที่สุดของปีได้อย่างแม่นยำ
ลักษณะของเว็ปแอปพลิเคชันดังกล่าวมีการแสดงผลข้อมูลค่าดัชนีความต่างพืชพรรณ (NDVI) และดัชนีความต่างความชื้น (NDMI) พร้อมทั้งระบบการมวลผลสู่ข้อมูลปริมาณการสะสมเชื้อเพลิงผิวดินในพื้นที่ป่าผลัดใบ ประเภทป่าเต็งรัง โดยสามารถระบุพิกัดที่ต้องการจะวิเคราะห์ผลปริมาณเชื้อเพลิงสะสมผิวดินได้ ข้อมูลดังกล่าวจะมีความล่าช้าจากเวลาปัจจุบันประมาณ 7 – 8 วัน เนื่องจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่มีการประมวลผลและรวบรวมข้อมูลก่อนการจัดส่งเข้าสู่ระบบแม่ข่ายเพื่อดึงข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ ซึ่งวัตถุประสงค์ในการประดิษฐ์ และพัฒนากระบวนการวิเคราะห์ปริมาณเชื้อเพลิงสะสมผิวดิน เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วยตัดสินใจกำหนดวันจัดการเชื้อเพลิงเชิงวิชาการที่เรียกว่าการชิงเผาได้อย่างแม่นยำ และเหมาะสม ผ่านระบบแสดงผลที่ผู้ปฏิบัติงานไม่จำเป็นต้องเดินทางลงพื้นที่ ลดควาเสี่ยงในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในการดูแลป่าผลัดใบ ประเภทป่าเต็งรัง
กระบวนการวิเคราะห์ค่าปริมาณเชื้อเพลิงสะสมบนผิวดินของเชื้อเพลิงในป่าผลัดใบประเภทป่าเต็งรัง เพื่อพัฒนากระบวนการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อสร้างเป็นแผนที่เชื้อเพลิงที่มีความคลาดเคลื่อนต่ำ โดยอาศัยค่าดัชนีความต่างของพรรณพืช NDVI (Normalized Difference Vegetation Index) วิเคราะห์ค่าปริมาณคลอโรฟิลล์ที่อยู่ในใบไม้บนเรือนยอด เพื่อคาดการณ์ปริมาณใบไม้ที่ร่างหล่นมาเป็นเชื้อเพลิงสะสมบนผิวดิน และทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลภาพปริมาณเชื้อเพลิงสะสมบนผิวดินในพื้นที่ภาคสนาม ซึ่งเว็ปแอปพลิเคชันเป็นระบบแสดงผลค่าที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สามารถใช้กับพื้นที่ป่าผลัดใบประเภทป่าเต็งรัง โดยใช้ข้อมูลปริมาณเชื้อเพลิง (ใบไม้) สะสมบนผิวดินในช่วงเวลาต่าง ๆ จากการใช้การเก็บข้อมูลในพื้นที่ ที่มีกรอบข้อมูลขนาดความกว้าง 1 เมตร ขนาดความยาว 1 เมตร วางในตำแหน่งพิกัดที่กำหนด ตำแหน่งเดิม
สามารถใช้ในพื้นที่ป่าประเภทป่าเต็งรัง และอยู่บริเวณระดับความสูง 300 - 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล
65,000.00 บาท
สถานที่ | พื้นที่ |
---|
อนุสิทธิบัตร
2403001814
-
สิทธิ์ | ชื่อ-นามสกุล | หน่วยงาน | เบอร์โทร |
---|
-
จำนวนผู้เข้าชม: 83