กระบวนการ (Process)
การเกษตร/อุปกรณ์ทางการเกษตร
-
การเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานพืชสมุนไพร "ขมิ้นชัน" จากการประยุกต์ใช้นวัตกรรมสังคมและการบริหารเครือข่ายโดยใช้ทุนทางสังคมในพื้นที่
การสร้างกระบวนสร้างการมีส่วนร่วมการเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานพืชสมุนไพร "ขมิ้นชัน" จ.สุรินทร์ โดยการใช้แนวคิดนวัตกรรมทางสังคมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก มีดังนี้
1. สร้างแรงบันดาลใจและแรงขับเคลื่อนจากภายใน ให้มีแนวคิดและค่านิยม (Shared Norms and Values) รวมถึงความสนใจ (Interest) ในการพัฒนาการดำเนินการด้านสมุนไพรในระดับพื้นที่และระดับจังหวัด
2. ระดมความคิดเห็นในการแก้ปัญหาระหว่างหน่วยงาน สถาบันการศึกษา และสมาชิกชุมชนนวัตกรรม ในการระบุปัญหา กำหนดเป้าหมาย และหาแนวทางในการพัฒนาร่วมกัน เพื่อยกระดับการผลิตสมุนไพรและเชื่อมโยงสู่ตลาดภายนอกให้เพิ่มมากขึ้น
3. สร้างพื้นที่การเรียนรู้และ LIP ให้สมาชิกและหน่วยงานทำกิจกรรมร่วมกันผ่านการสาธิต ทดลองทำ ประยุกต์ใช้ และต่อยอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ได้รับไปปรับใช้ใช้ในครัวเรือน มีช่องทางในการอัพเดทข้อมูลเแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้คำแนะนำ ซื้อ-ขายผลผลิตสมุนไพร
4. สร้างความยั่งยืน สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน สถาบันการศึกษา และชุมชนนวัตกรรมในการขับเคลื่อนเมืองสมุนไพร นำเข้าสู่แผนการจังหวัด ปรับโครงสร้างของกลุ่มชุมชนให้มีการบริหารจัดการรายได้และกระจายรายได้อย่างเหมาะสม
5. ขยายผลในวงกว้าง โดยการเก็บพันธ์ุที่มีการจดทะเบียนรับรองสายพันธุ์ เพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูก เพื่อเพิ่มศักยภาพคลัสเตอร์วัตถุดิบของเมืองสมุนไพร เพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูปให้หลากหลายโดยการปรับใช้กับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน รวมถึงนวัตกรที่ได้รับการพัฒนาสามารถเป็นผู้ถ่ายทอดโดยเป็นวิทยากรกระบวนการในการทำงานร่วมกับหย่วยงานในพื้นที่ในการพัฒนาคนในชุมชน
6. สร้างการเปลี่ยนแปลงระบบ ขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ในการพัฒนาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานสมุนไพรในจังหวัดสุรินทร์ โดยพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่สามารถยกระดับเป็นนายสถานี (นวัตกรแกนนำ) ในพื้นที่ของเครือข่ายที่สามารถเชื่อมโยงกับภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม และเป็นแกนนำในการทำกิจกรรมด้านสมุนไพร แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และทำงานร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ มีการพัฒนาตนเองจากผู้ปลูกเป็นผู้ผลิตพันธุ์ ผู้รวบรวมผลผลิตในพื้นที่ เกิดการจับคู่ธุรกิจจากการรวบรวม-ซื้อ-ขายผลผลิตในพื้นที่เครือข่าย และการเกิดเกื้อกูลกันในทั้งในและนอกชุมชนนวัตกรรมของเครือข่าย (Reciprocity) จากการให้คำแนะนำและแบ่งปันการใช้ทรัพยากร เช่น ปุ๋ยคอก สารชีวภัณฑ์ ตู้/โรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ เกิดการสร้างความน่าเชื่อถือ/ความไว้ใจกันในชุมชน (Social Trust) จากการเกิดสถานภาพใหม่ในชุมชนและเครือข่าย
การขับเคลื่อนทุนทางสังคม (Social Capital) เป็นหลักเพื่อให้เกิดเป็นเครือข่ายทางสังคมที่มีการสร้างค่านิยมร่วมกันด้านสมุนไพร สร้างความไว้วางใจจากการทำกิจกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูล ข่าวสาร หรือซื้อ-ขายผลผลิต ร่วมลงทุนจากสมาชิกโดยการการบริหารจัดการกลุ่ม มีความเกื้อกูลกันอย่างต่อเนื่องในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ทั้งในพื้นที่และระหว่างพื้นที่ชุมชนนวัตกรรม รวมถึงภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการพัฒนา เกิดเป็นนวัตกรรมทางสังคมในพื้นที่ในการขับเคลื่อนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานการพัฒนาด้านสมุนไพรในระดับพื้นที่และระดับจังหวัดสุรินทร์
-
0.00 บาท
สถานที่ | พื้นที่ |
---|
-
-
-
สิทธิ์ | ชื่อ-นามสกุล | หน่วยงาน | เบอร์โทร |
---|
-
จำนวนผู้เข้าชม: 50