กระบวนการ (Process)
การเกษตร/อุปกรณ์ทางการเกษตร
-
ปุ๋ยหมักจากมูลแพะ มีคุณสมบัติที่ดีในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งพบว่าการนำปุ๋ยมูลแพะมาใช้ในกระบวนการผลิตพืชแบบอินทรีย์ ช่วยปรับค่า pH ของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ปุ๋ยหมักมูลแพะมีปริมาณอินทรียวัตถุที่เหมาะสมสำหรับนำไปใส่ในดินเพื่อเพิ่มการสะสมคาร์บอนอินทรีย์ เพิ่มการปลดปล่อยธาตุอาหาร และลดการสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์ในดิน ซึ่งสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรนำปุ๋ยหมักมูลแพะไปใช้เพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินปลูกพืชได้ การใช้ปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ที่ผ่านกระบวนการหมักที่สมบูรณ์แล้วร่วมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นปุ๋ยชีวภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิด โดยเฉพาะผักกินใบ การใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาผสมปุ๋ยหมักมูลแพะที่ผ่านการหมักสมบูรณ์แล้ว ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูก และสามารถลดเชื้อสาเหตุโรคพืชในดินได้
เตรียมมูลแพะแห้งผสมคลุกเค้ากับแกลบดิบ รดน้ำให้ความชื้นในกองปุ๋ยประมาณ 60% พลิกกองปุ๋ยหมักทุกๆ 10 วัน หมักกองปุ๋ยหมักทิ้งไว้เป็นเวลา 1 เดือน เพื่อให้เกิดการย่อยสลายที่สมบูรณ์ จากนั้นนำปุ๋ยมูลแพะที่หมักสมบูรณ์แล้วมาผึ่งในที่ร่มให้แห้ง แล้วนำไปเข้าเครื่องบด บดปุ๋ยหมักให้ละเอียดเพื่อเตรียมผสมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดเชื้อสดที่เลี้ยงเมล็ดเมล็ดข้าวที่เชื้อสร้างสปอร์สีเขียว ชั่งส่วนผสมของปุ๋ยหมักมูลแพะและเชื้อราไตรโคเดอร์มาตามอัตราส่วน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ 7 วัน จะได้ปุ๋ยหมักมูลแพะผสมไตรโคเดอร์มาที่พร้อมใช้งาน ซึ่งเกษตรกรสามารถนำปุ๋ยหมัก เป็นส่วนผสมสำหรับวัสดุเพาะกล้า วัสดุปลูก ใช้หว่านในแปลงปลูกพืชในระหว่างการเตรียมแปลง หรือใช้เป็นปุ๋ยรองกุ้นหลุมก่อนปลูกพืชได้ นอกจากนี้เกษตรกรสามารถนำปุ๋ยหมักไปเข้าเครื่องปั้นเม็ด เพื่อความสะดวกในการใช้งานได้อีกด้วย
ปุ๋ยหมักมูลแพะผสมไตรโคเดอร์มา มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เกษตรกรสามารถผลิตเองได้ และสามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีได้ เมื่อเกษตรกรใช้ปุ๋ยหมักมูลแพะผสมไตรโคเดอร์มาหว่านในแปลงในระหว่างเตรียมแปลงปลูก และหมักแปลงทิ้งไว้ปลูกปลูกพืชนั้น จะช่วยปรับค่ามีค่า pH และค่าการนำไฟฟ้าของดินให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช ซึ่งค่า pH ของปุ๋ยหมักมูลแพะผสมไตรเดอร์มาที่เหมาะสมประมาณ 8.00 ค่าการนำไฟฟ้า 4.40 - 4.54 mS/cm (Lu et al., 2021) ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผัก จำพวกผักกินใบ เช่น คะน้า ผักกาดขาว และกะหล่ำ
เมื่อเกษตรกรนำปุ๋ยมูลแพะมาใช้ในการปลูกพืชร่วมกับชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มา โดยการนำมูลแพะมาหมักให้สมบูรณ์ก่อนเป็นเวลา 1 เดือน ช่วยให้เกิดการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งหากมีระยะเวลาในการหมักปุ๋ยที่เหมาะสม ก็จะส่งผลให้การนำปุ๋ยมูลแพะมาใช้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการปลูกพืชมากขึ้น ซึ่งปุ๋ยหมักมูลแพะมีคุณสมบัติที่ดีต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชหลายประการ มีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ที่ช่วยในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มความสามารถของดินในการเก็บรักษาน้ำและธาตุอาหาร มีสารที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชเช่นกรดอินโดลอะซิติก (IAA) และกรดจิบเบอเรลลิก (GA) และการขยายตัวของเซลล์พืช มีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) ที่สมดุลที่เหมาะสมช่วยในการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ (Kamolmanit and Lawongsa, 2021) และช่วยเพิ่มการปลดปล่อยธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่พืชนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างดินเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ทำให้ดินมีโครงสร้างที่ดีขึ้น เพิ่มการระบายอากาศและการอุ้มน้ำ เป็นประโยชน์ต่อระบบรากของพืช และสามารถการลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร
การใช้ปุ๋ยหมักมูลแพะผสมไตรโคเดอร์มา ใส่ต้นพืช อัตรา 10 กรัม/ต้น หรือใช้เป็นส่วนผสมในวัสดุปลูกพืช ควรเก็บปุ๋ยหมักมูลแพะผสมไตรโคเดอร์มาในที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อรักษาความมีชีวิตของเชื้อราไตรโคเดอร์มา อายุการเก็บรักษาประมาณ 6 เดือน
15.00 บาท
สถานที่ | พื้นที่ |
---|
ไม่ได้ขอขึ้นทะเบียน
-
-
สิทธิ์ | ชื่อ-นามสกุล | หน่วยงาน | เบอร์โทร |
---|
-
จำนวนผู้เข้าชม: 37